หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

365 ปี บันทึกของปินโต

บันทึกความทรงจำของปินโต เมนเดซ ปินโต (Femao Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ. 1614 มีการใช้ชื่อของปินโต โดยชนชาติ ศัตรูของโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจน เมื่อเขาอายุประมาณ 10 หรือ 12 เข้าต้องไปเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตเขาตกอยู่ในอันตราย จึงต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึแปดรา การผจญภัยของจึงเริ่มขึ้นเมื่อถึงเมืองดิว ในอินเดีย ค.ศ.1538

ตอนนั้น เขาอายุได้ 28 ปี ปินโตเคยเดินไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์

ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง เขาถูกขายและถูกจับตัว 13 ครั้ง ชีวิตของปินโตในเอเชียเคยเป็นทั้ง กลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เมื่อเดินทางกลับถึงโปรตุเกส ในปีค.ศ. 1558 เขาพยายามขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล แต่ไม่ได้รับความสนใจ ปินโตได้เขียนหนังสือ ชื่อ Peregrinacao ถูตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรม
  • ปินโตเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานี และ นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เข้ามากรุงศรีอยุธยา
    ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
หลังจากปินโตถึงแก่กกรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับ ให้แก่นักบวช ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1 และทรงเป็นกษัตริย์ที่2 แห่งสเปน ทรงทอดพระเนตร งานพระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโต จึงได้พระราชทาน บำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ และกรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโต บางส่วนในชื่อ "การผจญภัยของแฟรงค์นังด์ มังเดช ปินโต ค.ศ.1536-1558" ต่อมาได้มีการเผยแพร่อีกครั้ง
งานเขียนของปินโต ถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยแก้ว
ปินโต เล่าถึงการเดินทางของเขา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อ การเรียนรู้ สภาพภูมิศาสตร์ของโลก มีจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิด ความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย สิ่งทีผลักดันให้เขาเดินทางไปทางตะวันออก คือ ธรรมชาติของผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้ เขารอดพ้นได้อันตราย ส่วนเฮนรี่ มีจุดมุ่งหมายที่แปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านเกิดความพึงพอใจ เพื่อเป็นบทเรียนที่ให้ หลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง

จุดหมายที่จริงใจของปินโต และ โคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมที่หลากหลาย งานของปินโตจึงถูกเป็นที่อ้างอิงอย่ากว้างขว้าง

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชาอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารที่สำคัญ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ทรัพยากร การทหาร วัฒธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวต่าง ๆ ในสยามตอนกลาง
เรื่องราวในหนังสือ สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ โดมิงกุส ดึ ไซซัส ที่เคยถูกจองจำและรับราชการทหารในกรุงศรีอยุธยา

ความน่าเชื่อถือ

หนังสือของปินโต ถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง

เซอรื ริชาร์ด เบอร์ตัน (Sir Richard Burton)ในงานเขียน "The Third Voyage of ,the Sailor" ว่า การผจญภัยของปินโตคล้าย นวนิยายอาหรับและตั้งฉายาว่า "ซินดาแบดแห่งโปรตุเกส"
งานเขียนของปินโตบางส่วนคล้ายกับจดหมายติดต่อบุคคล และปินโตได้รับจดหมายฝากฝังจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส

สรุป
งานเขียนของปินโตมีค่าทางประวัติศาสตร์ มากกว่าเป็นนวนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบ้างตอนจะดูตื่นเต้น เร้าใจ งานเขียนของปินโตมีข้อถกเถียงอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บ้างชิ้นที่ปราศจากคำถาม งานเขียนของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำ เพราะเขียนขึ้นจากความจำเมื่อเขาเดินทางกลับโปรตุเกส

อ้างอิง

นิธิ เอียวศรีวงศ์ .2523 .ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.

นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ.2525 .หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.

มานพ ถาวรวัฒน์สกุล .2536 .ขุนนางอยุธยา

ราชบัณฑฺิตยะสถาน.2550.กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 .

วิชาการ. กรม .2531.470. ปีสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.

ศิลปากร.กรม.2536.การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดช ปินโต ค.ศ.1537-1558.

สันต์ ชุตินทรานนท์.2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบรูณ์ เล่ม 1.

สุเนตร ชุตินทรานนท์.2538.บุเรงนองกะยอดินนรธา

Campos, Joaquim.1959 ."Early Portuguese accounts of Thailand" Journal of The Siam Society Volume VII.

Cogan,Henny .trans.1653. The Voyages and Adventures of fernand Mendez Pinto.

Collins, The.1987.English Portuguese English Dictionary.

Hutchinson , E.W. 1940.Adventurers in Siam in the seventeen Century.

Wood, W.A.R. 1959 "Fernao Mendez Pinto's Account of Events in " JOurnal of The Si
am Society Volume VII.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น