หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว



เกาะยาวน้อย

อ.เกาะยาว จ.พังงา
เกาะยาวน้อยมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพังงา เหมาะแก่การพักผ่อน และยังเป็นเกาะที่สามารถเดินทางออกไปท่องเที่ยว ยังเกาะแก่งใหญ่น้อย รอบด้าน .. ไม่ว่าเป็นอ่าวพังงา ( เกาะปันหยี เขาพิงกัน .. ) ยังสามารถเดินทางไป เกาะไข่ที่เป็นที่ขึ้น ชื่อของหาดทรายขาว มีปลาเล็กใหญ่ หรือดูปะการัง ก็ได้อาจจะ เรียกได้ว่าเป็นสวรรค์อีกที่ หนึ่งของทะเล อันดามัน , หรือไม่ก็ไป เกาะห้อง จ.กระบี่ก็ได้เช่นกัน เกาะยาวน้อย อยู่ใจกลางระหว่าง จ.พังงา , จ.ภูเก็ต , จ.กระบี่ ค่ะ
ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะก็มีมากมาย มีทั้ง หาดป่าทราย , หาดท่าเขา ,วิถีชีวิตชุมชน และอีกหลาย ๆ อย่างที่รอ ท่านไปสัมผัส ค่ะ

>> การเดินทาง : สามารถเดินทางไปลงเรือที่ท่าเทียบเรือบางโรง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต หรือไม่ ก็ท่าเทียบเรือ ท่าเลน จ.กระบี่ และท่าเรือ ท่าด่าน จ.พังงา มีเรือโดยสารและเรือเหมา ให้บริการทั้งวัน ค่ะ
>> ที่พัก : ที่พักที่เกาะยาวน้อยมีให้ท่านเลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โฮมสเตย์ , รีสอร์ท , โรงแรม

ราคาก็สบายกระเป๋า เริ่มต้น หลักร้อย -หลักแสน สำหรับราคาที่พัก




อ้างอิง

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2













นักท่องเที่ยวชาวกรีก มีการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวเมื่อประมาณ 2300 ปีมาแล้ว นักท่องเที่ยวชาวกรีกนิยมเดินทางไปยังสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากกรีกมีการปกครองแบบนครรัฐ เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีอำนาจปกครองส่วนกลางที่จะสั่งการสร้างถนน นักท่องเที่ยวส่วนมากจึง เดินทางทางเรือ
ชาวโรมันก็มีการเดินทางอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดรมันนิยมเดินทางไปพักร้อนยังบ้านพักร้อนบนภูเขา ชาวโรมันมีอำนาจในการซื้อมากและเป็นนักล่าของที่ระลึกชาติแรก ๆ ของโลก :: วัฒนธรรมของจักวรรดิโรมันทำให้เกิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยวแบบมหาชน (Mass tourism) ยุคนั้น กรีก โรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จทางศิลปวิทยาการชาวกรีก * อาณาจักรโรมันล่มสลายลงใน ค.ศ. 476 หรือในตอนกลางคริสตศตววษที่ 5 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (The Middle Age)หรือยุคมืด (Dark Age)


มัคคุเทศก์และคู่มื่อนักท่องเที่ยวยุคต้น ๆ
ที่เราทราบ มัคคุเทศก์ในสมัยนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่และเรื่องราวต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกันมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านคุณภาพของข้อมูล และมัคคุเทศก์สมัยก่อนคริสตกาล เราอาจจะแบ่งได้เป็น 2 พวก พวกแรก Periegetai มีหน้าที่คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่มส่วนอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า Exegetai เป็นพวกที่ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินตราค่าตอบแทน
หนังสือคู่มือนำเที่ยว ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งคลอบคลุมแห่งท่องเที่ยว กรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย :: ชาวโรมันโบราณมีการเขียนหนังสือคู่มือการท่องเที่ยว ซึ่งเรียกว่า Itineraria จะประกอบด้วยรายชื่อของที่พักพร้อมทั้งสัญลักษณ์ ที่บอกเกรดของที่พักเหล่านั้น
การท่องเที่ยวในยุคกลาง


ยุคกลางคือช่วงระหว่าง ค.ศ.500-1500 ช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ยุคกลางเราเรียกว่า ยุคมืดช่วงเวลานี้ ถนนถูกปล่อยให้ทรุดโทรม เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้คนเดินทางกันในระยะสั้น ๆ ที่ไม่ไกลจากบ้านนัก :: คนชั้นสูงและคนชั้นกลางนิยมเดินทางไปเพื่อแสวงบุญ เป็นการเดินทางที่ไกลขึ้นสำหรับผู้ที่เคร่งศาสนา
ปัญหาที่นักเดินทางยุคกลางต้องเผชิญคือโจรผูู้ร้าย ที่ค่อยปล้นนักเดินทางในสมัยนั้น



ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน
>มีเป้าหมายในการเดินทางที่ชัดเจน .. (การแสวงบุญ)
>ผลของการเดินทางมีความสำคัญและมีความหมายด้านจิตใจ
>ผู้เดินทางต้องการให้คนอื่นเห็นความสำเร็จในการเดินทาง



การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตวรรษที่ 17 ถึงศตวรรษที่ 19

คนที่ต้องการที่จะเดินทางมีวิธีที่ทำได้ 3 วิธี คือ เดินเท้า , การขี่ม้า สุดท้ายใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นผู้แบก ในศตวรรษที่ 18 มีระบบทางด่วนผู้โดยสารที่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเกิดขึ้น

>แกรนด์ทัวร์ ( Grand Tour): การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ (การศึกษา)

>การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทอาบน้ำแร่ (Spa) : การอาบน้ำแร่เป็นที่รู้จักกันในยุคโรมันเชื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา ความนิยมการอาบน้ำแร่เพื่อการบำบัดเป็นที่นิยมใหม่ในประเทสอังกฤษ และเมืองใหญ่ ๆ บางแห่ง ต่อมา ช่วงสตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 เป็นที่นิยมในชนชั้นกษัตริย์ลงมาที่ ชนชั้นสูง ทำให้เมือง Bath กลายเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ชั้งสูง Bath กลายเป็นเมืองหรู เปลี่ยนโฉมจากบ่อน้ำแร่เป็นเมืองพักตากอากาศ

>กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาสชายทะเล : การอาบน้ำทะเลเพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้อาบน้ำทะเลจะอาบทั้งเสื้อผ้า .. ความนิยมในการรับการบำบัดด้วยน้ำทะเลซึ่งเป็นผลมาจากผู้คนมีความป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่เมื่อถึงต้นสตวรรษที่ 19 ความสะดวกในการเดินทางก็มีมากขึ้นทำให้การท่องเที่ยวมีมากขึ้นเนื่องจากเกิดการเดินทางด้วยเรือกลไฟ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง แต่เมื่อความนิยมมีมากขึ้นก็ทำให้มีบริการเรือสำราญอื่น ๆ

>ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในศตรรษที่ 19 : มีปัจจัยหลายประการที่ส่งเสริมการเดินทาง เราอาจจะเป็นปัจจัยเหล่านี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง และปัจจัยดึงดูดให้คนเดินทาง .. การเกิดชุมชนเมืองอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 19 เป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการเดินทาง .. การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ ก็ก่อให้เกิดตลาดการเดินทางทางธุรกิจขนาดใหญ่ สรุปคือประเทสอังกฤษในตอนต้นศตวรรษที่ 19 อยู่ในช่วงที่เริ่มเกิดความต้องการทางด้านการเดินทาง ประกอบกับการเกิดระบบการขนส่งสมัยใหม่ทำให้ความต้องการที่จะเดินทางกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้


>ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ , กำเนิดการเดินทางทางรถไฟ : การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสองประการในต้นศตวรรษที่19ได้มีผลอย่างสำคัญต่อการขนส่งและการเดินทางโดยทั่วไป การพัฒนาทางเทคโนโลยีประการแรกคือ การสร้างพาหนะประเภทรถไฟ .. ทางรถไฟสายแรกถูกสร้างขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ.1825 นับได้ว่าเป็นการจุดประกายการเดินทาง
Thomas Cook ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ริเริ่มที่มีความสำคัญที่สุดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระยะเริ่มแรก
Thomas Cook เป็นนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยว เขามีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับบรรดาโรงแรมรถไฟ และบริษัทขนส่งสินค้าทางเรือต่าง ๆ ทั่วโลก .. การเดินทางรถไฟมีการขยายตัวมากขึ้นพร้อม ๆ กับความนิยมในการเดินทางกับรถม้าลดน้อยลง ยุคของการสร้างโรงแรมจึงเกิดขึ้น โดยมีเจ้าของบริษัทรถไฟเป็นผู้นำ ทำให้เกิดโรงแรมตามสถานีรถไฟ


>เรือกลไฟ : ขณะที่รถไฟทำให้เกิดการเดินทางภาคพื้นดิน เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางทางน้ำ การพัฒนาทางด้านการค้ากับทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทวีปอเมริกาเหนือทำให้ประเทสอังกฤษต้องพัฒนาการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ที่เร็วขึ้นและเชื่อใจได้มากยิ่งขึ้น ( ประเทศอังกฤษเป็นประเทสแรกที่เปิดให้บริการเรือน้ำลึก )


>การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 : ในช่วงนี้การท่องเที่ยวยังคงมีการขยายตัว เพราะความมั่งคั่งของผู้คน ความอยากรู้ อยากเห็น และทัศนคติที่กล้าแสดงออกมากขึ้น .. รูปแบบของการเดินทางเปลี่ยนไป ความนิยมในการเดินทางด้วยรถไฟลดลงเพราะผุ้คนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ..การกำเนิดอุตสาหกรรมการบินในระยะแรกเป็นสัญญานบ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของการบริการทางรถไฟและเรือกลไฟ การบินเพื่อการพาริชย์ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในปี 1919 ในทวีปยุโรป .. การบินในระยะแรกมักเป็นการขนส่งจดหมายและไปรษณีย์ภัณฑ์มากกว่า การขนส่งผู้โดยสารจนกระทั่งหลังส่งครามโลกครั้งที่ 2 ที่เครื่องบินได้รับการพัฒนามากและดีพอที่จะทำการขนส่งผู้โดยสารเป็นพาณิชย์และเป็นการบินระหว่างประเทศ


>การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 : ความสนใจของผู้คนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ .. การเดินทางทางอากาศมีขยายตัวอย่ารวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ค่าโดยสารจะค่อนข้างแพงก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยวิธีการอื่นการเดินทางเครื่องบินก็นับว่ายังไม่แพง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมทัวร์

โปรแกรมทัวร์ภูเก็ต 3 วัน 2 คืน ( ทัวร์รอบเมืองภูเก็ต , พี พี มาหยา + เกาะไข่+ แคนนูอ่าวพังงา , เดินทางกลับ )
Package : Package 3 day 2 night City tour + PP ferry +cannoe 1 day trip +Airport Transfer.

ราคา ผู้ใหญ่ 5,600 บาท / Price : Adult 5,600 Baht.
วันแรกทัวร์รอบเกาะภูเก็ต 6 ชั่วโมง


- เริ่มต้นรับท่านจากสนามบิน เดินทางสู่จุดชมวิวเขารัง ชมย่านตึกเก่า ชิโนโปรตุกีส
-แวะทานอาหารพื้นเมืองภูเก็ต

-แวะซื้อของฝากจากเมืองภูเก็ต

-ไปนมัสการหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง วันคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดภูเก็ต
-ผ่านหาดราไวย์ เพื่อเดินทางไปชมจุดชมวิว 3 อ่าว
-แล้วส่งท้ายด้วยแหลมพรหมเทพ (สถานที่ชมพระอาทิตย์ ตก)

-ส่งกลับ โรงแรม lbis-Hotel Kata Beach


วันที่สอง ทริปดำน้ำ พีพี+อ่าวมาหยา+เกาะไข่ By speed boat.

-รับท่านจากโรงแรม เดินทางโดยเรือ มุ่งสู่เกาะพีพี สวรรค์ของนักดำน้ำ

-แวะอ่าวมาหยา ดำน้ำที่อ่าวโละซามะ (อ่าวที่อุดมไปด้วยประการังที่สมบรูณ์)

-แวะอ่าว ปิเละ ผ่านถ้ำไวกิ้ง

-รับประทานอาหารกลางวันบนเกาะพีพีดอน พักตามอัธยาศัย

-ออกเดินทางสู่เกาะไข่นอก


-พักผ่อนที่เกาะไข่ที่มีปลานานาชนิด ก่อนเดินทางกลับ

-กลับโรงแรม


วันที่ สาม พายเรือแคนนูอ่าว พังงา

-รับท่านจากโรงแรมสู่ ท่าเรืออ่าวปอ
-เรือออกเดินทางไปยังเกาะพนัก ด้วยโปรแกรม "Canoeing Phang-nga Bay"











-พายเรือแคนนูที่เกาะห้อง ชมธรรมชาติ

-รับประทานอาหารเที่ยงบนเรือ

-เดินทางชมทิวทัศน์เกาะเจมส์บอนด์ และ เขาพิงกัน

-เดินทางกลับภูเก็ต กลับที่พัก


อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

365 ปี บันทึกของปินโต

บันทึกความทรงจำของปินโต เมนเดซ ปินโต (Femao Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ. 1614 มีการใช้ชื่อของปินโต โดยชนชาติ ศัตรูของโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจน เมื่อเขาอายุประมาณ 10 หรือ 12 เข้าต้องไปเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตเขาตกอยู่ในอันตราย จึงต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึแปดรา การผจญภัยของจึงเริ่มขึ้นเมื่อถึงเมืองดิว ในอินเดีย ค.ศ.1538

ตอนนั้น เขาอายุได้ 28 ปี ปินโตเคยเดินไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์

ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง เขาถูกขายและถูกจับตัว 13 ครั้ง ชีวิตของปินโตในเอเชียเคยเป็นทั้ง กลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เมื่อเดินทางกลับถึงโปรตุเกส ในปีค.ศ. 1558 เขาพยายามขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล แต่ไม่ได้รับความสนใจ ปินโตได้เขียนหนังสือ ชื่อ Peregrinacao ถูตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรม
  • ปินโตเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานี และ นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 เข้ามากรุงศรีอยุธยา
    ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
หลังจากปินโตถึงแก่กกรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับ ให้แก่นักบวช ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1 และทรงเป็นกษัตริย์ที่2 แห่งสเปน ทรงทอดพระเนตร งานพระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโต จึงได้พระราชทาน บำเหน็จรางวัลแทนบิดา
งานเขียนของปินโต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ และกรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโต บางส่วนในชื่อ "การผจญภัยของแฟรงค์นังด์ มังเดช ปินโต ค.ศ.1536-1558" ต่อมาได้มีการเผยแพร่อีกครั้ง
งานเขียนของปินโต ถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยแก้ว
ปินโต เล่าถึงการเดินทางของเขา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อ การเรียนรู้ สภาพภูมิศาสตร์ของโลก มีจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิด ความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย สิ่งทีผลักดันให้เขาเดินทางไปทางตะวันออก คือ ธรรมชาติของผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้ เขารอดพ้นได้อันตราย ส่วนเฮนรี่ มีจุดมุ่งหมายที่แปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านเกิดความพึงพอใจ เพื่อเป็นบทเรียนที่ให้ หลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง

จุดหมายที่จริงใจของปินโต และ โคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมที่หลากหลาย งานของปินโตจึงถูกเป็นที่อ้างอิงอย่ากว้างขว้าง

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชาอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารที่สำคัญ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ทรัพยากร การทหาร วัฒธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวต่าง ๆ ในสยามตอนกลาง
เรื่องราวในหนังสือ สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ โดมิงกุส ดึ ไซซัส ที่เคยถูกจองจำและรับราชการทหารในกรุงศรีอยุธยา

ความน่าเชื่อถือ

หนังสือของปินโต ถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง

เซอรื ริชาร์ด เบอร์ตัน (Sir Richard Burton)ในงานเขียน "The Third Voyage of ,the Sailor" ว่า การผจญภัยของปินโตคล้าย นวนิยายอาหรับและตั้งฉายาว่า "ซินดาแบดแห่งโปรตุเกส"
งานเขียนของปินโตบางส่วนคล้ายกับจดหมายติดต่อบุคคล และปินโตได้รับจดหมายฝากฝังจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส

สรุป
งานเขียนของปินโตมีค่าทางประวัติศาสตร์ มากกว่าเป็นนวนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบ้างตอนจะดูตื่นเต้น เร้าใจ งานเขียนของปินโตมีข้อถกเถียงอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บ้างชิ้นที่ปราศจากคำถาม งานเขียนของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำ เพราะเขียนขึ้นจากความจำเมื่อเขาเดินทางกลับโปรตุเกส

อ้างอิง

นิธิ เอียวศรีวงศ์ .2523 .ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.

นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ.2525 .หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.

มานพ ถาวรวัฒน์สกุล .2536 .ขุนนางอยุธยา

ราชบัณฑฺิตยะสถาน.2550.กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 .

วิชาการ. กรม .2531.470. ปีสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.

ศิลปากร.กรม.2536.การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดช ปินโต ค.ศ.1537-1558.

สันต์ ชุตินทรานนท์.2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบรูณ์ เล่ม 1.

สุเนตร ชุตินทรานนท์.2538.บุเรงนองกะยอดินนรธา

Campos, Joaquim.1959 ."Early Portuguese accounts of Thailand" Journal of The Siam Society Volume VII.

Cogan,Henny .trans.1653. The Voyages and Adventures of fernand Mendez Pinto.

Collins, The.1987.English Portuguese English Dictionary.

Hutchinson , E.W. 1940.Adventurers in Siam in the seventeen Century.

Wood, W.A.R. 1959 "Fernao Mendez Pinto's Account of Events in " JOurnal of The Si
am Society Volume VII.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว


การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ ซึ่งคล้ายกับกิจกรรมทางด้านกีฬา หรือ งานอดิเดก นอกจากนี้ การท่องเที่ยว จะเกี่ยวข้องกับการเดินทาง :: นักวิชาการ และองค์กรต่าง ๆ พยายามให้คำจำกัดความ ของคำว่าท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2506 ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเดินทางหรือการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่กรุงโรม ได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำ จำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากการท่องเทียวระหว่างประเทศ ว่า

( world Tour Organization , WTO ) องค์การท่องเที่ยวโลก พ.ศ.2513 ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะ ดังนี้ เป็นการเดินทางจากที่อยู่ปกติไปยัง ที่อื่นชั่วคราว , การเดินทางด้วยความสมัครใจ, การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ ตามที่ไม่ใช่การประกอบ อาชีพหรือ หารายได้

จากการนิยามความหมายของการท่องเที่ยว ในที่ประชุมปี พ.ศ.2506 ได้นิยามผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ว่า
ผู้มาเยือน (Vistor) สามารถแบ่งได้
-นักท่องเที่ยว (Tourism) : ผู้ทีมาเยือนชั่วคราว หรือพัก ณ สถานที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
-นักทัศนาจร (Excursionist) : ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว และพัก ณ สถานที่ไปเยือนไม่ถึง 24 ชั่วโมง
* การที่เราจำแนกประเภทของผู้เดินทางเพื่อใช้ประโยชน์ ในการรวบรวม ข้อมูลทางสถิติ และเพือการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวตลอดจนใช้ ในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ โดยองค์การท่องเที่ยวโลก
นอกจากนี้สามารถแบ่งผู้มาเยือนตามถิ่นพำนัก ได้อีกเช่นกัน
-ผู้มาเยือนขาเข้า(Inbound Visitor) คือผู้ที่มี ถิ่นพำนักในต่างประเทศ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง
-ผู้ที่มาเยือนขาเข้า(Outbound Visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในอีกประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง
-ผู้ที่มาเยือนภายในประเทศ (Domestic Visitor) คือผู้มาเยือนที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่

วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว ของการมาท่องเที่ยวส่นใหญ่ อาจจะเป็น

การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและการพักผ่อน (Holiday)เป็นการเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน รื่นเริง ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดจำกัด หรืออาจะ เป็น การเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business)เป็นการเดินทางที่ควบคู่ไปกับการทำงาน เพื่อประกอบอาชีพหรือหารายได้ จากสถานที่ไปท่องเที่ยวนั้น บางครั้งอาจมี การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อาจเป็นการเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และสลับซับซ้อนมากว่าการเดินทางเพื่อไปพักผ่อนหรือประชุม
การท่องเที่ยวนั้น เราสามารถที่จะแบ่งตามหลักต่าง ๆ ได้อีกไม่ว่าจะเป็น การแบ่งตามหลักสากล
-การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism) หมายถึง ผู้ที่อาศัยในประเทศนั้น ๆ เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของตนเอง
-การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism) หมายถึง ผู้ที่พำนักอาศัยในประเทศอื่น เข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศนั้น

-การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism) หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศหนึ่งเดินทางออกไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ

หรือ การแบ่งตามลักษณะของการเดินทาง
  • การท่องเที่ยวแบบหมุู่คณะ Group Inclusive Tour:GIT สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด
    -กรุ๊ปเหมา คือการท่องเที่ยวของคณะ ฃนักท่องเที่ยวซึ่งมีความสัมพันธ์กัน อาจทางด้านส่วนตัวหรือด้านการงาน ที่ มีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน
    -กรุ๊ปจัด คือการท่องเที่ยวของคณะท่องเที่ยวซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เดินทางร่วมกันไปยังสถานที่เดียวกัน โดยแต่ละคนจะซื้อโปรแกรมนำเที่ยว (Pack Tour)
  • การท่องเที่ยวแบบอิสระ Foreign Individual Tourism : FIT การท่องเที่ยวประเภทนี้นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางแบบอิสระ และมักเดินทางตามลำพัง
    รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์พิเศษ เราสามารถที่จะแบ่งได้อีก ถึง 5 ประการใหญ่ ๆ
    มี

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา (Health and sport)

การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ( Cliff Climbing)
การท่องเทียวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรม (Ethic Tourism)
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา ( Educational Tourism)